3 จี หรือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (อังกฤษ: 3G,3rd generation mobile telecommunications ) เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ W-CDMA ในระบบ GSM ใช้ช่วงความถี่ตั้งแต่ 850 , 900 , 1800 , 1900 และ 2100 ผสานเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มีสามารถการนำเสนอข้อมูล ใช้งานด้านมัลติมีเดีย ส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วที่สูง
มาตรฐาน IMT-2000
- พื้นฐาน ที่สามารถรองรับบริการต่างๆ เช่น บริการประจำที่ บริการเคลื่อนที่ สื่อสารด้วยเสียง รับส่งข้อมูล เข้าถึงอินเทอร์เน็ต มัลติมีเดีย จะต้องเป็นไปในทางเดียวกัน คือสามารถโอนถ่าย ส่งต่อ ซึ่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมอื่นที่สามารถรับส่งข้อมุลได้
- โครงข่ายข้ามแดน (Global Roaming) สามารถใช้อุปกรณ์เดียวในทุกพื้นที่ทั่วโลก
- ความต่อเนื่องการสื่อสาร (Seamless Delivery Service) สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องแม้จะมีการเคลื่อนที่แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานีรับส่งสัญญาณ
- อัตราความเร็วการรับส่งข้อมูล (Transmission Rate)
- 4.1 ขณะประจำที่หรือความเร็วเท่าการเดินสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างน้อย 2 เมกะบิต/วินาที
- 4.2 ขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วระดับยานพาหนะ สามารถรับส่งข้อมูลอย่างน้อย 384 กิโลบิต/วินาที
- 4.3 ในทุกสภาพการใช้งาน มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 14.4 เมกะบิต/วินาที
มาตรฐาน W-CDMA
W-CDMA หรือ WCDMA (Wideband Code-Division Multiple Access) เป็นมาตรฐานหนึ่งในระบบการสื่อสารแบบไร้สาย ภายใต้ IMT-2000 มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ อุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สาย ด้วยความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูล ภาพ เสียง หรือ รูปแบบวิดีโอ ด้วยความเร็วสูง 2 เมกะบิต/วินาที3 จีในประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงระบบการมอบคลื่นความถี่จากเดิมที่จะให้สัมปทานแก่เอกชนเพื่อดำเนินการ เป็นใบอนุญาตการดำเนินการแทน และความไม่ลงรอยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จัดตั้งให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเป็นคณะกรรมการกลางผู้ถือคลื่นความถี่ทั้งหมดในประเทศ จนกลายเป็นชนวนเหตุให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสี่หน่วยงาน คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย, องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ[ต้องการอ้างอิง] จนทำให้ในปัจจุบันประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในสองประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีระบบ 3 จี อย่างเป็นทางการ- 1 ลำดับเหตุการณ์
- 1.1 แผนงานเร่งด่วนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- 1.2 การประกาศที่ส่อความขัดแย้งของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
- 1.3 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติแถลงข่าวเรื่อง 3 จีคลื่นความถี่ 2100 เมกกะเฮิร์ต
- 1.4 กระทรวงไอซีทีไม่พอใจเงื่อนไขของการประมูล
- 1.5 รัฐบาลตั้งทีมล้มการประมูล 3 จี
- 1.6 ทีโอทีเปิดบริการ 3G เอง
- 1.7 การมาถึงของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติชุดสุดท้าย
- 1.8 ความขัดแย้งระหว่าง กสท. โทรคมนาคม กับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการประมูล 3 จี
- 1.9 ศาลปกครองล้มการประมูล 3 จี
- 2 3 จีประเทศไทย ในปัจจุบัน
- 3 อ้างอิง
- 1 ลำดับเหตุการณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น