Arbitrage (อาร์บิทราจ) คือ อะไร
Arbitrage (อาร์บิทราจ) คือ การทำกำไรจากสองตลาด เป็นการทำกำไรจากสินค้าชนิดเดียวกัน แต่ราคาต่างกันในตลาดสองตลาด ส่วนใหญ่ราคาก็จะต่างกันไม่มาก เพราะเป็นสินค้าชนิดเดียวกันคุณภาพเหมือนกันต่างกันที่สถานที่ซื้อขายแต่มีระยะห่างความต่างของราคาให้พอทำกำไรได้บ้าง
อาร์บิทราจ ไม่มีคำบัญญัติในภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า “การทำอาร์บิทราจ” โดยปกติแล้ว อาร์บิทราจ หมายถึง การทำกำไรโดยปราศจากความเสี่ยงและไม่ต้องใช้เงินทุนของตนเองเลย เป็นการซื้อและขายในต่างตลาดแต่เวลาเดียวกัน
ติดต่อสอบถามการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด
ได้ที่ Line ID: @tomsmart999 โทร. 096-8580189
หลักการก็คือ ซื้อสินค้าชนิดเดียวกัน จากตลาดที่ราคาถูกกว่ามาขายที่ตลาดราคาแพงกว่า
จะเป็นสินค้าอะไรก็ได้ ที่ซื้อขายได้และมีตลาดซื้อขายตั้งแต่สองที่ขึ้นไป และการซื้อสินค้าจากตลาดถูกมาก ขายตลาดแพงในที่สุด แล้วจะทำให้ราคาสินค้าชนิดนั้นเท่ากันในทุกตลาดในที่สุด
ดังนั้น ระยะเวลาในการทำ "อาร์บิทราจ" จะเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น คือช่วงที่มันมีส่วนต่างของราคา ช่วงที่ราคาสินค้ามันไม่เท่ากัน
มองผิวเผินการทำ อาร์บิทราจ ไม่มีความเสี่ยงเลย กำไรเห็นๆ เพราะเป็นที่นักลงทุนรู้อยู่แล้วว่าจะซื้อของถูกจากตลาดไหนไปขายเอากำไรที่ตลาดไหน ดังนั้นความเสี่ยงก็จะอยู่ที่ตัวคนทำอาร์บิทาจหรือนักลงทุนนั่นเอง ซึ่งต้องคอยติดตามวิเคราะห์เหตุการณ์และสภาวะตลาดเพื่อหาโอกาสทำกำไร
ในเมื่อการทำ อาร์บิทราจ ไม่มีความเสี่ยงหรือความเสี่ยงน้อย ส่วนต่าง (กำไร) ในการทำอาร์บิทราจก็จะน้อยตามหลัก high risk high return (มีความเสี่ยงสูงผลตอบแทนที่สูง)
การทำอาร์บิทราจจึงอาศัยปริมาณการซื้อ-ขาย ในปริมาณมากๆ จะทำให้กำไร (ดู) เยอะ ซึ่งจริงๆ แล้ว เงินต้นทุนหนานั่นเองกำไรเลยดูเยอะ แต่เมื่อคิดออกมาเป็นเปอร์เซนต์ ต่อเงินทุนทั้งหมดแล้วจะไม่เยอะยกเว้นกรณีพิเศษจริงๆ ส่วนต่างกำไรไม่เยอะ กำไรไม่เยอะแต่ทำกำไรได้แน่นอน
เราจึงมักไม่เห็น นักลงทุนรายย่อย ทำอาร์บิทราจสักเท่าไหร่ เพราะกำไรไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการซื้อ-ขาย ส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนใหญ่ๆ นักลงทุนข้ามชาติ หรือเฮดจ์ฟันด์
ติดต่อสอบถามการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด
ได้ที่ Line ID: @tomsmart999 โทร. 096-8580189
เรามาทำความเข้าใจ..การทำ Arbitrage (อาร์บิทราจ) เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขี้น
หากผมบอกคุณว่า สินค้าอย่างเดียวกันจะต้องมีราคาเท่ากัน คงจะมีคนจำนวนมากที่แย้งว่าไม่จริง ซึ่งสิ่งที่เขาแย้งนั้น ผมก็เห็นด้วย เพียงแค่ผมเดินอยู่ในถนนสีลมเพื่อจะซื้อน้ำอัดลมหนึ่งกระป๋องมาดื่ม โดยราคาในร้านสะดวกซื้อกับราคาในซุปเปอร์มาร์เก็ตก็ไม่เท่ากัน ถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าผมจะพูดถึงกฎราคาเดียวนี้ทำไม ทั้งๆ ที่กฎข้อนี้ไม่สามารถที่จะใช้ได้กับสถานการณ์ง่าย ๆ ที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวันแต่ทว่า หากเราเดินบนถนนเยาวราชแล้วมีร้านทองสองร้าน ติดราคารับซื้อและขายทองคำแท่งที่มีคุณภาพและขนาดเท่ากัน แต่ราคาต่างกัน โดยร้านทองที่ 1 ติดราคารับซื้อและขายไว้ที่ 13,000 บาทต่อบาททองคำ ในขณะที่ร้านทองที่ 2 ติดราคารับซื้อและขายไว้ที่ 13,500 บาทต่อบาททองคำ
ผลต่างที่เราเห็นคือ 500 บาท แน่นอนว่าคนธรรมดาที่เดินผ่านร้านทองทั้งสองนี้สามารถเดินเข้าไปซื้อทองคำแท่งจากร้านทองที่ 1 ในราคา 13,000 บาทต่อบาททองคำ ต่อจากนั้น ก็นำทองคำแท่งดังกล่าวไปขายให้ร้านทองที่ 2 ในราคา 13,500 บาทต่อบาททองคำ
ซึ่งจะทำให้ได้กำไร 500 บาทต่อบาททองคำ หากมีคนที่เดินผ่านไปผ่านมาที่ร้านทองทั้งสองแห่งและทำกำไรโดยใช้วิธีดังกล่าวไปเรื่อย ๆ ผลที่ตามมาคือผลต่างของราคาทองคำระหว่างร้านทองทั้งสองคงจะค่อย ๆ ลดลงจนเท่ากันในที่สุด
ทั้งสองสถานการณ์ข้างต้นนั้นมีความแตกต่างกันอยู่ 2 จุด ได้แก่ ร้านทองสองร้านติดกันจึงเปรียบเสมือนว่าอยู่ในที่เดียวกัน ในขณะที่ร้านสะดวกซื้อกับซุปเปอร์มาร์เก็ตมีสถานที่อยู่ห่างกันทำให้ร้านที่อยู่ในสถานที่ที่มีคนเดินผ่านเยอะกว่าอาจจะตั้งราคาได้สูงกว่า ยิ่งไปกว่านั้นร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ต ยังไม่รับซื้อสินค้าใด ๆ คืนด้วย มีแต่ขายให้ลูกค้าอย่างเดียวเท่านั้น ถึงราคาจะต่างกันก็ไม่มีใครเดินไปซื้อของจากร้านหนึ่งแล้วมาขายให้อีกร้านหนึ่งได้
เราจึงสรุปได้เลยว่ากฎราคาเดียวจะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเท่านั้น
แล้วสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คืออะไรกันแน่ ตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว สภาพแวดล้อมที่ทำให้กฎราคาเดียวเป็นจริงเสมอ เรียกว่า"ตลาดที่สมบูรณ์" โดยความหมายของตลาดที่สมบูรณ์ในที่นี้สามารถสรุปง่าย ๆ คือ ตลาดที่มีลักษณะ อันได้แก่
ไม่มีค่าธรรมเนียมในการซื้อขายใด ๆ เลย ไม่มีส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย สามารถซื้อและขายได้ในจำนวนที่ไม่จำกัดโดยไม่มีผลกระทบต่อราคา และสามารถขายก่อนแล้วค่อยซื้อคืนทีหลังได้ เป็นต้น
ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่ผมพูดไปในข้างต้นก็คือสภาพตลาดที่สมบูรณ์ และจากที่อธิบายไป เราอาจจะพอเห็นว่าตลาดที่สมบูรณ์นั้นคือ ตลาดอุดมคติที่ไม่มีอยู่จริง และจะค่อนข้างไกลความจริงมากโดยเฉพาะในโลกของการซื้อขายทั่วไป ด้วยหลาย ๆ สาเหตุ เช่นว่า ไม่มีร้านค้าร้านไหนตั้งราคาขายและราคารับซื้อคืนเท่ากัน เพราะว่าไม่ทำให้ร้านของตนได้กำไร ถ้าราคาเท่ากันก็อาจจะมีส่วนค่าธรรมเนียมซื้อขายบางอย่างอยู่ดี และไม่ใช่ร้านค้าทุกร้านจะรับซื้อสินค้าคืน เป็นต้น
แม้ว่าตลาดที่สมบูรณ์อาจจะไม่มีอยู่จริง แต่ทว่าหลักการของกฎราคาเดียวนั้นยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อยู่ โดยเฉพาะกรณีที่นำกฎราคาเดียวมาใช้กับตลาดการเงิน
ยกตัวอย่างเช่นว่า ถ้ามีหุ้นของบริษัท MMM ซื้อขายในตลาดหุ้นสองแห่งในประเทศเดียวกัน หุ้นของบริษัท MMM ในตลาดหุ้นทั้งสองแห่งจะต้องมีราคาเท่ากันตามกฎราคาเดียว
ถ้าตลาดทั้งสองแห่งเป็นตลาดที่สมบูรณ์ตามทฤษฎี แต่ในโลกของการซื้อขายจริง ๆ แล้ว ตลาดหุ้นแต่ละแห่งก็มีค่าธรรมเนียมซื้อขายและมีส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อ-ขาย
จึงอาจจะทำให้หุ้นของบริษัท MMM ในตลาดหุ้นทั้งสองแห่งมีราคาไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม ราคาของหุ้นทั้งสองนั้นก็คงจะไม่แตกต่างกันมากอยู่ดี
ติดต่อสอบถามการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด
ได้ที่ Line ID: @tomsmart999 โทร. 096-8580189
เพราะถ้าแตกต่างกันมาก ก็จะมีนักลงทุนเข้ามาทำกำไรได้โดยการซื้อหุ้นในตลาดที่มีราคาถูกกว่าและขายในตลาดที่มีราคาสูงกว่า (เฉพาะกรณีที่หักค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แล้วยังได้กำไร)
จากตัวอย่างของบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งมีหุ้นของตนซื้อขายในตลาดหุ้นสองแห่งในประเทศเดียวกัน เราจะเห็นว่า แม้ตลาดหุ้นทั้งสองแห่งจะไม่สมบูรณ์ ราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดทั้งสองแห่งก็จะไม่แตกต่างกันมาก
ในทำนองเดียวกันนี้ ถ้าเรานำกฎราคาเดียวมาปรับใช้กับการซื้อขายทองคำแท่ง ซึ่งมีซื้อขายกันอยู่ทั่วโลกเราก็จะพบว่า ราคาทองคำแท่งที่เทียบเคียงในหน่วยความบริสุทธิ์และเงินสกุลเดียวกัน ณ เวลาเดียวกันนั้นควรจะมีราคาเดียวกันเสมอ ตามกฎราคาเดียว แต่เนื่องจากตลาดไม่สมบูรณ์
ราคาทองคำแท่งที่เทียบเคียงในหน่วยความบริสุทธิ์และเงินสกุลเดียวกัน ณ เวลาเดียวกันนั้นอาจจะแตกต่างกันได้ แต่ก็ควรจะใกล้เคียงกัน และนี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมราคาทองคำที่ซื้อขายกันทั่วโลก
นั้นจึงมีราคาใกล้เคียงกันและมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกันเป็นประจำ
Price Convergence (การบรรจบกันของราคา)
การทำอาร์บิทราจนั้นเป็นกลไกที่ทำให้สินค้าสองสิ่งที่มีลักษณะเหมือนกันแต่มีราคาซึ่งไม่อยู่ในภาวะสมดุลกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ หรือที่เราเรียกว่า การบรรจบกันของราคา (Price Convergence)ยกตัวอย่างเช่น ราคาหุ้นของบริษัทหนึ่งที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้นต่างกัน ราคาน้ำมันที่ซื้อขายในตลาดต่างกัน และราคาทองคำที่ซื้อขายในตลาดต่างกัน เป็นต้น
นอกจากนี้ ถ้าสภาพแวดล้อมของการซื้อขายสินค้านั้น เป็นตลาดที่สมบูรณ์แล้ว ราคาของสินค้าสองสิ่งที่มีลักษณะเหมือนกันย่อมมีราคาเท่ากันตามกฎราคาเดียว เราจึงสามารถกล่าวได้ว่าตลาดยิ่งใกล้เคียงตลาดสมบูรณ์มากเท่าใด ตลาดนั้นย่อมมีโอกาสการทำอาร์บิทราจน้อยลงด้วย
สำหรับตลาดการเงินนั้น ความเหมือนกันของสินค้าสองสิ่ง อาจจะดูค่อนข้างง่ายกว่าสินค้าอย่างอื่น เช่น อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ต่อเยน ราคาน้ำมันดิบ และราคาทองคำ เป็นต้น
ไม่ว่าสินค้าเหล่านี้จะซื้อขายที่ไหนราคาของสินค้าที่เหมือนกันย่อมจะถูกบังคับให้ไปในทิศทางเดียวกันด้วยกลไกการทำอาร์บิทราจ ยกตัวอย่างเช่น ราคาทองคำในตลาดโตเกียวปรับตัวขึ้นไป 3 % ในขณะที่ราคาในตลาดไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง ย่อมมีคนที่ต้องการทำอาร์บิทราจโดยการขายทองคำแท่งในตลาดโตเกียวและซื้อทองคำแท่งในตลาดไทย พร้อมกับป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนไว้ด้วย
ถ้ามีคนทำอาร์บิทราจ มากขึ้นเรื่อย ๆ ราคาทองคำแท่งในตลาดไทยก็จะต้องปรับตัวสูงขึ้นเข้าหาราคาที่ตลาดโตเกียว หรือ ราคาทองคำแท่งในตลาดโตเกียวก็จะต้องปรับตัวลดลงเข้าหาราคาที่ตลาดไทยด้วย จนกระทั่งราคาทองคำในตลาดทั้งสองแห่งใกล้เคียงกันจนไม่สามารถทำอาร์บิทราจได้
การบรรจบกันของราคาทองคำในตัวอย่างนี้ ต่างจากการที่ตลาดหุ้นในต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้นและตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นตามตรงที่ ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นตาม ๆ กันอาจจะมีสาเหตุมาจากการซื้อของกองทุนขนาดใหญ่พร้อม ๆ กัน แต่ทว่าการปรับขึ้นของราคาทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์ตามตลาดต่างประเทศนั้นมีที่มาจากการบรรจบของราคาที่สามารถอธิบายได้โดยกฎราคาเดียวและการทำอาร์บิทราจ
นอกเหนือจากนี้ การบรรจบกันของราคายังปรากฏให้เห็นระว่างราคาของสัญญาฟิวเจอร์สและสินค้าอ้างอิงของสัญญาฟิวเจอร์สด้วย
ติดต่อสอบถามการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด
ได้ที่ Line ID: @tomsmart999 โทร. 096-8580189
แต่ทว่า สำหรับตลาดอนุพันธ์ของไทยนั้น การที่เราจะเห็นส่วนต่างของราคา Gold Futures กับราคาทองคำในตลาดลอนดอนนั้นกว้างมากก็เป็นไปได้สูง เพราะนักลงทุนในประเทศอาจจะไม่มีเงินทุนที่จะทำอาร์บิทราจได้สูงพอ
ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติอาจจะไม่สนใจใช้ Gold Futures ในประเทศไทยมากนัก เพราะปัจจุบัน Gold Futures มีซื้อขายอยู่ในหลายประเทศอยู่แล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และ ฮ่องกง เป็นต้น
อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติอาจจะไม่ต้องการมีความเสี่ยงในค่าเงินบาทของไทยด้วย นอกจากนี้ ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่นว่า การขายชอร์ตทองคำ (Short-sell) นั้นทำได้ยากมากในประเทศไทย ซึ่งทำให้โอกาสที่จะทำอาร์บิทราจนั้นจะมีอยู่ในช่วงระยะเวลานานพอสมควร ตัวอย่างที่ดีก็คือ ตั้งแต่ตลาดอนุพันธ์ให้เริ่มซื้อขาย SET50 Index Futures มาจนถึงปัจจุบัน (ประมาณ เกือบ 3 ปี) การทำอาร์บิทราจระหว่างตะกร้าหุ้นอันเป็นองค์ประกอบของดัชนี SET50 และ SET50 Index Futures ก็ยังคงสามารถทำได้อยู่เรื่อย ๆ
ตัวอย่าง การทำอาร์บิทราจ (Arbitrage) หุ้น
บริษัท ABC ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นของบริษัท DEF คืนทั้งหมด (Tender Offer) ที่ราคา 105 บาทต่อหุ้น
ในอีก 1 เดือนข้างหน้า ถ้าปัจจุบันราคาหุ้นของบริษัท DEF เท่ากับ 100 บาทต่อหุ้น ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับ 12 % ต่อปี และค่าธรรมเนียมซื้อขายสุทธิเท่ากับ 0.30% ต่อมูลค่าหุ้น เราสามารถทำอาร์บิทราจได้โดย
ซื้อหุ้นจำนวน 100 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมเท่ากับ 0.30 บาท
กู้ยืมเงินมา 1 เดือน จำนวน 100.30 บาท ที่อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 12 % ต่อปี (1% ต่อเดือน) 1 เดือนต่อมา ขายหุ้นให้กับบริษัท ABC ที่ราคา 105 บาท (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)
จ่ายเงินต้น 100.30 บาท พร้อมดอกเบี้ย 100.30 x 1% = 1.003 บาท คืนให้กับผู้ให้กู้
จากกระแสเงินสดของการทำอาร์บิทราจดังกล่าว เราจะเห็นว่าการทำอาร์บิทราจ 1 หุ้นจะได้กำไร 3.697 บาท ถ้าเราสามารถทำได้เป็นจำนวนมาก ๆ เช่น 10 ล้านหุ้น เราก็จะได้กำไรถึง 36.97 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติการทำอาร์บิทราจจำนวนมาก ๆ นี้ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น ราคาหุ้น DEF อาจจะปรับตัวสูงขึ้น ถ้าซื้อจำนวนมาก ๆ และการกู้ยืมเงินมาก ๆ นั้นอาจจะไม่สามารถทำได้หรือทำได้แต่ไม่ทันที ถ้าเราเป็นเพียงบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม เราคงไม่ใช่คนเพียงคนเดียวที่เห็นโอกาสในการทำอาร์บิทราจ
ในทางปฏิบัติ การทำอาร์บิทราจ เป็น การทำกำไรโดยปราศจากความเสี่ยง ซึ่งไม่ขึ้นกับทิศทางของราคาสินค้าว่าจะขึ้นหรือลง ดังนั้น จึงเป็นกลยุทธ์ที่สามารถทำได้ในทุกสภาวะของตลาด ขอเพียงแค่ราคาตลาดของสินค้านั้น ๆ ไม่อยู่ในภาวะสมดุลก็พอ
Arbitrage คือ กลยุทธ์ในการทำกำไรจากผลต่างของราคาใน 2 ตลาดของสินค้าชนิดเดียวกัน ซึ่งการที่จะทำเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีการซื้อขายมากกว่าหนึ่งตลาด เช่น ซื้อขายในตลาดปกติที่มีการส่งมอบกันทันที และซื้อขายในตลาดล่วงหน้า เป็นต้น
การทำอาร์บิทราจ (Arbitrage)
คำว่า อาร์บิทราจ หมายถึง การทำกำไรจากส่วนต่างของราคาสินค้าเดียวกันที่มีราคาแตกต่างกันในสองตลาด การทำอาร์บิทราจนี้ต้องทำกับการซื้อขายประเภทฟิวเจอร์สเพราะต้องใช้เทคนิคการเปิดสัญญาซื้อ (open long position) กับเปิดสัญญาขาย (open short position) ไปพร้อมๆกัน
หากยังงงก็ไม่เป็นไร เราค่อยๆมาดูกันเป็นขั้นๆ สมมติสินค้าอะไรดี เอายางพาราก็แล้วกัน
ยางพาราหรือว่ายางแผ่นรมควันชั้นที่ 3 นั้นมีเทรดกันในตลาดหลายประเทศ เช่น ในตลาด afet ของไทย ตลาด tocom ของญี่ปุน ตลาด sicom ของจีน เป็นต้น แต่ละตลาดก็มีนักลงทุนเทรดกันตามอัธยาศัย ดังนั้นราคายางพาราที่ขึ้นลงไปมาของแต่ละตลาดก็เกิดจากแรงซื้อแรงขายของนักลงทุนในตลาดนั้นๆนั่นเอง
ทีนี้เราลองมาดูกรณีของยางพาราตลาด afet (RSS3) กับยางพาราตลาดญี่ปุ่น (ขอเรียกว่ายางโตคอม) กันบ้าง ลองดูภาพต่อไปนี้
ติดต่อสอบถามการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด
ได้ที่ Line ID: @tomsmart999 โทร. 096-8580189
ติดต่อสอบถามการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด
ได้ที่ Line ID: @tomsmart999 โทร. 096-8580189
ที่เห็นในภาพ เส้นสีน้ำเงินเป็นราคา RSS3 (ราคาเป็นเงินบาท) กับเส้นสีแดงคือราคายางโตคอมที่แปลงเป็นเงินบาทแล้วตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น จะเห็นว่าราคา RSS3 กับยางโตคอมไม่ได้เท่ากันเสมอ บางวัน RSS3 ก็แพงกว่ายางโตคอม บางวันยางโตคอมก็แพงกว่า RSS3 นี่แหละคือจุดที่เราสามารถทำกำไรระหว่างความแตกต่างของราคาในสองตลาดหรือที่เรียกว่า arbitrage
วิธีการทำอาร์บิทราจก็คือ สมมติว่าผมเก็บสถิติเอาไว้ ทำให้ทราบดีว่าราคา RSS3 มักจะแพงกว่ายางโตคอมไม่เกิน 3 บาท นี่คือการสมมติ ไม่ใช่สถิติจริง
ทีนี้มาดูภาพต่อไปนี้กัน
ติดต่อสอบถามการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด
ได้ที่ Line ID: @tomsmart999 โทร. 096-8580189
สมมติอีกว่ามีอยู่วันหนึ่ง ราคา RSS3 แพงกว่ายางโตคอมถึง 5.7 บาท (ดูหมายเลข 1) จะเห็นว่าราคาแตกต่างกันมากผิดปกติ หากไม่ใช่ราคา RSS3 แพงเวอร์ก็เป็นราคายางโตคอมถูกเวอร์ ผมก็ลงมือทำอาร์บิทราจเลย โดยเปิดสัญญาขายหรือเปิดชอร์ตยาง RSS3 และเปิดสัญญาซื้อหรือเปิดลองยางโตคอม ความคิดของผมในตอนนั้นก็คือ
เมื่อราคาระหว่างสองตลาดแตกต่างกันมาก อีกไม่นานก็ต้องกลับเข้ามาสู่สภาพปกติ คือช่องระหว่างราคาสองตลาดจะต้องแคบลง ก็ถือสัญญาเอาไว้สักพัก ต่อมาราคาระหว่างสองตลาดก็แคบลงมาจริงๆ ดูหมายเลขสอง วันนั้นราคาระหว่างสองตลาดแตกต่างกันเพียง 1.4 บาท ผมปิดสัญญาทั้งด้านลองและด้านชอร์ต ได้กำไรจากการทำอาร์บิทราจคือ 5.7-1.4 = 4.3 บาทต่อหนึ่งสัญญา
แล้วทำไมถึงได้กำไร หลักคิดก็ง่ายๆ นั่นคือ วันก่อนช่องราคาแตกต่างกัน 5.7 บาท วันนี้เหลือแตกต่างกัน 1.4 บาท ให้คิดเสมือนว่าเสมือนว่าราคายางโตคอมคงที่ แล้วราคา RSS3 ร่วงลงมาลงมา สัญญา RSS3 ที่ชอร์ตเอาไว้ทำให้ผมได้กำไร 4.3 บาทนั่นเอง
หรือหากคิดเสมือนว่าราคา RSS3 คงที่ แล้วราคายางโตคอมขยับขึ้นมา จึงทำให้ช่องราคาแคบลง นั่นคือผมได้กำไรจากสัญญาลองของยางโตคอม 5.7-1.4 = 4.3 บาทต่อหนึ่งสัญญาเช่นกัน
ดังนั้นจึงสรุปว่าเมื่อช่องราคาแคบลง ผมก็จะได้กำไร ผมก็จัดการปิดสัญญาทั้งซื้อและขาย กลายเป็นไม่มีสถานะคงค้าง ได้กำไรสบายพุงไป
ทีนี้เอาใหม่ หากสมมติว่าผมไม่ขายตรงหมายเลขสอง ถือสัญญาไปจนถึงหมายเลขสาม วันหมายเลขสามนั้น RSS3 ต่ำกว่ายางโตคอมอีก ช่องว่างราคาแคบลงถึงขนาดติดลบคือ -11.3 บาท หากผมปิดสัญญาที่หมายเลขสามนี้
ผมก็จะได้กำไรมากยิ่งขึ้นกว่าหมายเลขสองเสียอีก นั่นคือ หากผมปิดสัญญาที่หมายเลขสาม ผมจะได้กำไรจากการทำอาร์บิทราจ 5.7+11.3=17.0 บาท
ถ้างงก็ให้คิดเสมือนว่าราคายางโตคอมคงที่ ขั้นแรกราคา RSS3 ร่วงมาจนเท่ากับราคายางโตคอม ขั้นนี้ได้กำไรไป 5.7 บาท ขั้นต่อมาขั้นที่สองยางโตคอมคงที่ ยาง RSS3 ร่วงต่ออีก ราคา RSS3 ต่ำกว่ายางโตคอม 11.3 บาท ขั้นที่สองนี้ได้กำไรไปอีก 11.3 บาท รวมกำไรสองขั้นเป็นกำไรจากการทำอาร์บิทราจทั้งสิ้น 5.7+11.3=17.0 บาท
หากงงกับการคำนวณลองดูภาพที่แสดงด้วยเส้นจำนวนอาจเข้าใจง่ายขึ้นว่ากำไรนั้นได้อย่างไร เส้นที่มีหัวลูกศรคือเส้นจำนวนแสดงผลกำไรที่ได้ในกรณีปิดสัญญาตามหมายเลขสอง (เส้นสีแดง) กับการปิดสัญญาตามหมายเลขสาม (เส้นสีเขียว)
ติดต่อสอบถามการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด
ได้ที่ Line ID: @tomsmart999 โทร. 096-8580189
นี่คือหลักการในการทำไรจากราคาที่แตกต่างกันระหว่างสองตลาดหรือที่เรียกว่าอาร์บิทราจ ซึ่งปกตินักลงทุนหรือกองทุนใหญ่ๆ ที่ลงทุนข้ามชาติมักทำกัน ส่วนใหญ่ได้กำไรจากช่องราคาที่แตกต่างกันนิดหน่อยแต่เน้นที่ใช้ปริมาณสัญญาจำนวนมาก หมายถึง ว่าหนึ่งสัญญากำไรนิดเดียวถือสัญญาเพียงระยะสั้น ไม่ถือนาน แต่ใช้ซื้อขายสัญญาจำนวนมากจึงทำให้ได้กำไรมาก
แต่นักลงทุนรายย่อยมักทำไม่ได้เพราะส่วนใหญ่เล่นตลาดเดียว อีกประการหนึ่งก็คือไม่ได้มีทุนมากจนสามารถซื้อขายสัญญาจำนวนมากได้
การทำอาร์บิทราจในสมัยนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนักลงทุนหรือกองทุนต่างก็จ้องหาตลาดและโอกาสที่จะทำอาร์บิทราจอยู่
ดังนั้นพอราคาเริ่มมีช่อง นักลงทุนก็จะแห่กันเข้ามาทำ อาร์บิทราจ จนช่องราคาถูกปิดไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ที่ทำอาร์บิทราจจึงไม่มีใครถือสัญญานานๆ เพราะช่องจะแคบลงและปิดไปอย่างรวดเร็ว ได้นิดหน่อยก็รีบออกกันแล้ว
การทำกำไรโดยการใช้ กลยุทธ์ Arbitrage (สำหรับคนที่ยังไม่รู้นะครับ)
วันนี้นั่งศึกษาเกี่ยวกับการทำ Arbitrage เพราะไปงานสัมนางานหนึ่ง ซึ่งพิธีกรได้พูดเกี่ยวกับการทำ Arbitrage ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการทำกำไรโดย "ไม่มี" ความเสี่ยง (เห็นเขาพูดไว้อย่างนั้นนะครับ)
ทำกันอย่างไร มีคนอธิบายไว้ดีมากเลยครับ
การทำกำไรโดยวิธีการทำ Arbitrage หุ้น
การทำกำไรสำหรับนักลงทุนระยะยาว โดยไม่มีความเสี่ยงต่อการถือหุ้นนั้น เราสามารถใช้เทคนิคการ Arbitrage ซึ่งเป็นการหาผลตอบแทนเทียบกันระหว่าง 2 หลักทรัพย์ โดยมีวิธีการคือเราจะเปลี่ยนไปถือหลักทรัพย์ที่มีส่วนต่างของกำไรที่สูงกว่า โดยไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของราคาเข้ามากระทบแต่อย่างไร หรือไม่มีความเสี่ยงจากการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ครับ
ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว เอาตัวอย่างของจริงมาดูกัน วันนี้วันที่ 4 ตุลาคม 2549 มีเหตุการณ์ของหุ้นตัวหนึ่งที่ทำให้สามารถทำ Arbitrage ระหว่างหลักทรัพย์ Warrant คือหุ้นลูก และหุ้นแม่ที่ใช้อ้างอิง
ขอใช้เป็นระหัสนะครับ คือหุ้นสารพัดช่าง หรือหุ้นช้างครับ
ตัวลูกสามารถแปลงสภาพได้ในราคา 4.50 บาทต่อหุ้น แปลงได้ทุกไตรมาส หมดเขตแปลง มี.ค. 50 ซึ่งหมายความว่า เราอาจใช้สิทธิแปลงสภาพทีละไตรมาส โดยแปลงหุ้นลูกเป็นหุ้นแม่ โดยมีระยะเวลาแปลงสภาพเหลืออยู่อีกประมาณ 6 เดือน ตัวลูกช่วงเช้าอยู่ที่ 3.70 - 3.72 แต่ตัวแม่อยู่ที่ 8.55
ถ้าเราต้องการถือหุ้นแม่ในระยะยาว โดยไม่ต้องการขายในระยะสั้น เราสามารถทำ Arbitrage หุ้นได้ทันที โดยใช้วิธีการคือ
เอาตัวลูกแปลงเป็นตัวแม่ได้ 3.72 + 4.5 บาท ได้ราคา 8.22 บาทต่อหุ้น ราคาหุ้นแม่อยู่ที่ 8.55 บาทต่อหุ้น ใครมีหุ้นสารพัดช่าง ขายตัวแม่ทิ้ง แล้วซื้อตัวลูกไปแปลงสภาพ ได้กำไรส่วนต่างเห็น ๆ 8.55 - 8.22 บาทต่อหุ้น หรือเท่ากับ 0.33 สตางค์ต่อหุ้น
โดยไม่มีความเสี่ยงในการถือหุ้นแต่อย่างไร เพราะหุ้นลูกแปลงเป็นหุ้นแม่ได้ทุกไตรมาสอยู่แล้ว ใครถือยาวและเป็นนักลงทุนที่มีเหตุผล จึงต้อง Arbitrage ครับ กำไรเห็น ๆ ทันที ลดต้นทุนหุ้นแม่ไป 0.33 ต่อหุ้น แต่ช่วงที่เขียนต่อมาราคาปิดตลาดวันนี้ ราคาหุ้นแม่อยู่ที่ 9.05 บาทต่อหุ้น และหุ้นลูกอยู่ที่ 4.16 บาทต่อหุ้น หุ้นลูกแปลงเป็นหุ้นแม่ได้ในราคารวมเท่ากับ 8.66 บาท ตอนนี้ราคายิ่งน่าสนใจยิ่งขึ้น เพราะ ราคาแปลงสภาพจะถูกกว่าหุ้นแม่ 9.05 - 8.66 บาทหรือเท่ากับ 0.39 บาท คิดเป็นกำไรส่วนต่าง 4.30% เทียบกับราคาหุ้นแม่ครับ แบบนี้ถือลูกแปลงแม่ดีกว่าครับ
แนะนำระบบเทรดที่มีคนรู้จักกันน้อยมาก หรือ อาจจะรู้จัก แต่ไม่รู้ลึกเท่าไหร่
เกี่ยวกับระบบนี้ Triangular Arbitrage
Triangular Arbitrage ว่ากันว่าเป็นระบบเทรดที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด บางคนถึงกับบอกว่าไม่มีความเสี่ยงเลย โดยส่วนตัวผมก็คิดว่ามันมีความเสี่ยงน้อยครับ
Triangular Arbitrage คือ การซื้อเงินจากสกุลหนึ่ง ไปขายอีกสกุลหนึ่ง เพื่อให้ได้กำไรจากส่วนต่าง ส่วนใหญ่จะทำการซื้อขายกัน 3 ค่าเงิน
มาดูตัวอย่างกันเลยดีกว่าครับ
ยกตัวอย่าง ผมจะเล่น USD,EUR,GBP
ก่อนอื่นเราก็ต้องรู้อัตราการแลกเปลี่ยนกันก่อนว่า แต่ละค่าเงินมี Exchange Rate เท่าไหร่
1 U.S. dollar = 0.765990042 Euros
1 Euro = 0.865888439 British pounds
1 British pound = 1.5097 U.S. dollars
ข้างบนนี้คือ อัตราการแลกเปลี่ยนของ 3 สกุลเงินที่ผมจะเล่นครับ
โมเดลการซื้อขาย = USD > EUR > GBP > USD
สมมุติผมมีเงินอยู่ 1 USD ผมนำเงิน 1 USD ไปซื้อ EUR จะได้ = 0.765990042 EUR เสร็จแล้วก็เอาเงิน EUR ที่ได้ไปซื้อ GBP จะได้ = 0.765990042 x 0.865888439 = 0.6632619217569244 GBP
และสุดท้ายก็เอา GBP กลับไปแลก USD จะได้ = 0.6632619217569244 x 1.5097
= 1.001326523276429 USD
ซึ่งตอนแรกทุนเรามี 1 USD ก็เท่ากับว่าตอนนี้เราได้กำไรรวมกับทุนมา = 1.001326523276429 USD
และนี่ก็คือตัวอย่างของการใช้ Triangular Arbitrage
Arbitrageurs
เป็นบุคคลกลุ่มที่สามที่เข้าทำธุรกรรมในตลาด Futures และ Options โดยที่ Arbitrageurs คือผู้ลงทุนที่แสวงหากำไรจากการเข้าทำธุรกรรมในตลาด (Futures หรือ Options) พร้อมๆ กันมากกว่า 2 ตลาดขึ้นไป เนื่องจากเห็นความแตกต่างระหว่างราคาของตราสารในตลาดเหล่านั้น
ตัวอย่าง มีหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนซื้อขายทั้งใน New York Stock Exchange (NYSE) และใน London Stock Exchange (LSE) สมมติว่าราคาหลักทรัพย์ x เท่ากับ $172 ใน NYSE และ 100 ปอนด์ ใน LSE ซึ่งขณะนี้มีอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ $1.7500 / ปอนด์
Arbitrageurs สามารถแสวงหากำไรได้ โดยการเข้าซื้อหุ้น x จำนวน 100 หุ้น ใน NYSE และขายหุ้น x จำนวนนี้ใน LSE แล้วแลกเงินปอนด์กลับมาเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
จะได้รับกำไรทั้งสิ้น
= 100 x [($1.75 x 100) - $172] = $300
ทั้งนี้ สมมติให้ไม่ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ การปริวรรคเงินตรา และการโอนเงิน อย่างไรก็ตาม การแสวงหากำไรแบบ Arbitrage นี้จะต้องเกิดขึ้นเร็วมาก
เพราะถ้าทุกคนรู้ ก็จะเข้ามาทำกลยุทธ์การลงทุนแบบเดียวกัน เช่น จากตัวอย่างข้างต้น ถ้ามี Arbitrageurs เข้ามาซื้อหุ้น x พร้อมๆ กัน ราคาหุ้น x ใน NYSE ก็จะสูงขึ้นกว่า $172 และถ้าขายหุ้น x ใน LSE พร้อมๆ กัน ราคาหุ้น x ใน LSE ก็จะลดลงต่ำกว่า 100 ปอนด์
นอกจากนี้ การขอแลกเงินปอนด์มาเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลง และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน $1.75 / ปอนด์ ซึ่งในที่สุดแล้ว จะทำให้กำไรจากการทำ Arbitrage ลดลงน้อยกว่า $300 และหายไปในที่สุด
ติดต่อสอบถามการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด
ได้ที่ Line ID: @tomsmart999 โทร. 096-8580189
ตัวอย่างข้างต้นนี้ เป็นการทำ Arbitrage ในระหว่างตลาดหลักทรัพย์สองแห่งที่มีสินค้าเหมือนกัน โดย Arbitrager สามารถซื้อสินค้าในตลาดหนึ่งที่มีราคาแพงกว่า ทำให้ได้กำไรทันทีโดยไม่ต้องเผชิญความเสี่ยง แต่ถ้าเป็นกรณี การทำ Arbitrage ในตลาด Futures หรือ Options ก็จะมีความซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม Arbitrager ก็จะทำธุรกรรมด้วยวัตถุประสงค์ที่คล้ายกันคือ ทำธุรกรรมในลักษณะที่สามารถให้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยงไม่ว่ากรณีใดๆ
ติดต่อสอบถามการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด
ได้ที่ Line ID: @tomsmart999 โทร. 096-8580189
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น