การบรรจบกันของราคา (Price Convergence)
การทำอาร์บิทราจนั้นเป็นกลไกที่ทำให้สินค้าสองสิ่งที่มีลักษณะเหมือนกันแต่มีราคาซึ่งไม่อยู่ในภาวะสมดุลกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ หรือที่เราเรียกว่า การบรรจบกันของราคา ยกตัวอย่างเช่น ราคาหุ้นของบริษัทหนึ่งที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้นต่างกัน ราคาน้ำมันที่ซื้อขายในตลาดต่างกัน และราคาทองคำที่ซื้อขายในตลาดต่างกัน เป็นต้น นอกจากนี้ ถ้าสภาพแวดล้อมของการซื้อขายสินค้านั้นเป็นตลาดที่สมบูรณ์แล้ว ราคาของสินค้าสองสิ่งที่มีลักษณะเหมือนกันย่อมมีราคาเท่ากันตามกฎราคาเดียว เราจึงสามารถกล่าวได้ว่าตลาดยิ่งใกล้เคียงตลาดสมบูรณ์มากเท่าใด ตลาดนั้นย่อมมีโอกาสการทำอาร์บิทราจน้อยลงด้วย
การทำอาร์บิทราจนั้นเป็นกลไกที่ทำให้สินค้าสองสิ่งที่มีลักษณะเหมือนกันแต่มีราคาซึ่งไม่อยู่ในภาวะสมดุลกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ หรือที่เราเรียกว่า การบรรจบกันของราคา ยกตัวอย่างเช่น ราคาหุ้นของบริษัทหนึ่งที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้นต่างกัน ราคาน้ำมันที่ซื้อขายในตลาดต่างกัน และราคาทองคำที่ซื้อขายในตลาดต่างกัน เป็นต้น นอกจากนี้ ถ้าสภาพแวดล้อมของการซื้อขายสินค้านั้นเป็นตลาดที่สมบูรณ์แล้ว ราคาของสินค้าสองสิ่งที่มีลักษณะเหมือนกันย่อมมีราคาเท่ากันตามกฎราคาเดียว เราจึงสามารถกล่าวได้ว่าตลาดยิ่งใกล้เคียงตลาดสมบูรณ์มากเท่าใด ตลาดนั้นย่อมมีโอกาสการทำอาร์บิทราจน้อยลงด้วย
สำหรับตลาดการเงินนั้น ความเหมือนกันของสินค้าสองสิ่ง อาจจะดูค่อนข้างง่ายกว่าสินค้าอย่างอื่น เช่น อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์เยน ราคาน้ำมันดิบ และราคาทองคำ เป็นต้น ไม่ว่าสินค้าเหล่านี้จะซื้อขายที่ไหนราคาของสินค้าที่เหมือนกันย่อมจะถูกบังคับให้ไปในทิศทางเดียวกันด้วยกลไกการทำอาร์บิทราจ ยกตัวอย่างเช่น ราคาทองคำในตลาดโตเกียวปรับตัวขึ้นไป 3 % ในขณะที่ราคาในตลาดไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง ย่อมมีคนที่ต้องการทำอาร์บิทราจโดยการขายทองคำแท่งในตลาดโตเกียวและซื้อทองคำแท่งในตลาดไทย พร้อมกับป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนไว้ด้วย ถ้ามีคนทำอาร์บิทราจมากขึ้นเรื่อย ๆ ราคาทองคำแท่งในตลาดไทยก็จะต้องปรับตัวสูงขึ้นเข้าหาราคาที่ตลาดโตเกียว หรือ ราคาทองคำแท่งในตลาดโตเกียวก็จะต้องปรับตัวลดลงเข้าหาราคาที่ตลาดไทยด้วย จนกระทั่งราคาทองคำในตลาดทั้งสองแห่งใกล้เคียงกันจนไม่สามารถทำอาร์บิทราจได้ การบรรจบกันของราคาทองคำในตัวอย่างนี้ต่างจากการที่ตลาดหุ้นในต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้นและตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นตามตรงที่ ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นตาม ๆ กันอาจจะมีสาเหตุมาจากการซื้อของกองทุนขนาดใหญ่พร้อม ๆ กัน แต่ทว่าการปรับขึ้นของราคาทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์ตามตลาดต่างประเทศนั้นมีที่มาจากการบรรจบของราคาที่สามารถอธิบายได้โดยกฎราคาเดียวและการทำอาร์บิทราจ
นอกเหนือจากนี้ การบรรจบกันของราคายังปรากฏให้เห็นระว่างราคาของสัญญาฟิวเจอร์สและสินค้าอ้างอิงของสัญญาฟิวเจอร์สด้วย ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 ซึ่งเราจะเห็นว่าราคาของสัญญา S50Z08 นั้นค่อย ๆ บรรจบเข้าหาดัชนี SET50 เมื่อเวลาผ่านไป แต่ทว่าสาเหตุที่ทำให้ ณ วันซื้อขายสุดท้ายของสัญญา S50Z08 ราคาของ S50Z08 ไม่เท่ากับดัชนี SET50 ก็คือ ตลาดอนุพันธ์ใช้ราคาเฉลี่ยของดัชนี SET50 เป็นราคาที่ใช้ชำระราคาสุดท้าย (Final Settlement Price) อย่างไรก็ตามความแตกต่าง ณ วันซื้อขายสุดท้ายนี้จะไม่เกิดขึ้นกับ Gold Futures เพราะราคาทองคำที่ใช้คำนวณราคาที่ใช้ชำระราคาสุดท้าย (Final Settlement Price) ไม่ใช่ราคาเฉลี่ย จึงทำให้ราคา Gold Futures จะบรรจบเข้าหาราคาทองคำในตลาดลอนดอน (London Gold AM Fixing)
ในกรณีที่ Gold Futures ใกล้หมดอายุ และราคาทองคำในตลาดลอนดอนนั้นแตกต่างจากราคา Gold Futures มาก ย่อมมีผู้ที่เข้ามาทำอาร์บิทราจได้จากส่วนต่างของราคาทั้งสอง และทำให้ส่วนต่างของราคาทั้งสองนั้นค่อย ๆ ลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่สามารถทำอาร์บิทราจได้ แต่ทว่า สำหรับตลาดอนุพันธ์ของไทยนั้น การที่เราจะเห็นส่วนต่างของราคา Gold Futures กับราคาทองคำในตลาดลอนดอนนั้นกว้างมากก็เป็นไปได้สูง เพราะนักลงทุนในประเทศอาจจะไม่มีเงินทุนที่จะทำอาร์บิทราจได้สูงพอ ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติอาจจะไม่สนใจใช้ Gold Futures ในประเทศไทยมากนัก เพราะปัจจุบัน Gold Futures มีซื้อขายอยู่ในหลายประเทศอยู่แล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และ ฮ่องกง เป็นต้น อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติอาจจะไม่ต้องการมีความเสี่ยงในค่าเงินบาทของไทยด้วย นอกจากนี้ ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่นว่า การขายชอร์ตทองคำ (Short-sell) นั้นทำได้ยากมากในประเทศไทย ซึ่งทำให้โอกาสที่จะทำอาร์บิทราจนั้นจะมีอยู่ในช่วงระยะเวลานานพอสมควร ตัวอย่างที่ดีก็คือ ตั้งแต่ตลาดอนุพันธ์ให้เริ่มซื้อขาย SET50 Index Futures มาจนถึงปัจจุบัน (ประมาณ เกือบ 3 ปี) การทำอาร์บิทราจระหว่างตะกร้าหุ้นอันเป็นองค์ประกอบของดัชนี SET50 และ SET50 Index Futures ก็ยังคงสามารถทำได้อยู่เรื่อย ๆ
อาร์บิทราจ ( Arbitrage ) การทำกำไรจากสองตลาด
“อาร์บิทราจ “ ไม่มีคำบัญญัติในภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า “การทำอาร์บิทราจ” เป็นการทำกำไรจากสินค้าชนิดเดียวกัน แต่ราคาต่างกันในตลาดสองตลาด ส่วนใหญ่ราคาก็จะต่างกันไม่มากเพราะเป็นสินค้าชนิดเดียวกันคุณภาพเหมือนกันต่างกันที่สถานที่ซื้อขายแต่มีระยะห่างความต่างของราคาให้พอทำกำไรได้บ้าง
มองผิวเผินการทำอาร์บิทาจไม่มีความเสี่ยงเลย กำไรเห็นๆ เพราะเป็นที่นักลงทุนรู้อยู่แล้วว่าจะซื้อของถูกจากตลาดไหนไปขายเอากำไรที่ตลาดไหน ดังนั้นความเสี่ยงก็จะอยู่ที่ตัวคนทำอาร์บิทาจหรือนักลงทุนนั่นเองซึ่งต้องคอยติดตามวิเคราะห์เหตุการณ์และสภาวะตลาดเพื่อหาโอกาสทำกำไร
ในเมื่อการทำอาร์บิทาจไม่มีความเสี่ยงหรือความเสี่ยงน้อย ส่วนต่าง(กำไร)ในการทำอาร์บิทาจก็จะน้อยตามหลัก high risk high return การทำอาร์บิทราจจึงอาศัยปริมาณการซื้อขายในปริมาณมากๆจะทำให้กำไร (ดู) เยอะซึ่งจริงๆแล้ว เงินต้นทุนหนานั่นเองกำไรเลยดูเยอะ แต่เมื่อคิดออกมาเป็นเปอร์เซนต่อเงินทุนทั้งหมดแล้วจะไม่เยอะยกเว้นกรณีพิเศษจริงๆ ส่วนต่างกำไรไม่เยอะ กำไรไม่เยอะแต่ทำกำไรได้แน่นอน
เราจึงมักไม่เห็น นักลงทุนรายย่อยทำอาร์บิทาจสักเท่าไหร่ เพราะกำไรไม่คุ้มค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซื้อขาย ส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนใหญ่ๆ นักลงทุนข้ามชาติ หรือเฮดจ์ฟันด์
ปิดท้าย:
I always knew I was going to be rich. I don’t think I ever doubted it for a minute.
ผมรู้มาตลอดว่าผมจะรวย ผมไม่เคยสงสัยในคความเชื่อมั่นนี้แม้แต่นาทีเดียว
ผมรู้มาตลอดว่าผมจะรวย ผมไม่เคยสงสัยในคความเชื่อมั่นนี้แม้แต่นาทีเดียว
Warrent Buffett
คำเตือน: บทความนี้เขียนจาก คนธรรมดาไม่ได้เป็นนักวิชาการเขียนเอามันส์ ไม่รับประกันความถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น