บริษัทก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน2533 ในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานภาย
ใต้สัญญร่วมการงานและร่วมลงทุนกับบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) (“ทีโอที”) ในปี 2536
บริษัทได้เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทมหาชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ
ไทยในชื่อ บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในเดือนธันวาคม 2536
มีชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า “TA” ในเดือนเมษายน 2547 บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์
ภายใต้แบรนด์ทรู และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
มีชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า “TRUE”
|
นอกเหนือจากการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และบริการเสริมต่างๆ ซึ่งรวมถึงบริการโทรศัพท์สาธารณะ
และบริการโทรศัพท์พื้นฐานพกพา WE PCT ในปี 2544 บริษัทได้เปิดให้บริการโครงข่ายข้อมูลความเร็วสูง
ซึ่งประกอบด้วยบริการ ADSL และบริการ Cable Modem และในปี 2546 ได้เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ต
ความเร็วสูงแบบไร้สายหรือบริการ Wi-Fi ต่อมาในปี 2550 บริษัทย่อยได้เปิดให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ต
ระหว่างประเทศ(International Internet Gateway) และเปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ในปี 2551
ในเดือนตุลาคม 2544 บริษัทได้เข้าถือหุ้น ในบริษัทกรุงเทพ อินเตอร์เทเลเทค จำกัด (มหาชน)
หรือ “BITCO” (ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด) ในอัตราร้อยละ 41.1 ซึ่งนับเป็น
การเริ่มเข้าสู่ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งนี้ ทีเอ ออเร้นจ์ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในเดือน
มีนาคม 2545 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ทรูมูฟ” เมื่อต้นปี 2549 บริษัทได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน
BITCO มากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2552 บริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นใน BITCO คิดเป็นร้อยละ 98.9
ในเดือนธันวาคม 2553 กลุ่มทรูได้เริ่มให้และขยายบริการ 3G (บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง)
หลังการลงนามในสัญญาเพื่อเข้าซื้อโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศและหุ้น 4 บริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน
ในเดือนมกราคม 2549 บริษัทได้เข้าซื้อหุ้น ยูบีซี จาก MIH ทั้งหมด และต่อมาได้ดำเนินการเข้าซื้อหุ้น
สามัญจากรายย่อย (Tender Offer) ทำให้บริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นทางอ้อมในยูบีซี ร้อยละ 91.8
ภายหลังการเข้าซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย เสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2549 ทั้งนี้ ยูบีซีได้เปลี่ยนชื่อ
เป็นทรูวิชั่นส์ เมื่อต้นปี 2550 นอกจากนี้ หลังการปรับโครงสร้างของกลุ่มบริษัททรูวิชั่นส์ในช่วงครึ่งปีแรก
ของปี 2553 นอกจากนี้ บริษัทได้เริ่มซื้อคืนหุ้นจากผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในเดือนพฤศจิกายน 2553 ทั้งนี้เพื่อ
เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทในกลุ่มบริษัททรูวิชั่นส์
บริษัทเริ่มดำเนินธุรกิจภายใต้ยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ และผสมผสานบริการภายในกลุ่มเข้าด้วยกันเพื่อ
รองรับการเปิดธุรกิจใหม่ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ของบริษั โดยในวันที่ 15 ธันวาคม 2546 บริษัทได้เปิดให้
บริการ ทรูมันนี่ (บริษัททรู มันนี่ จำกัด) เพื่อให้บริการธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์สำหรับกลุ่มทรู
ในเดือนมิถุนายน 2552 บริษัท ทรูมันนี่ ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ให้เป็นผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระยะเวลา 10 ปี
ทรูไลฟ์ เป็นกลุ่มธุรกิจบริการดิจิตอลคอนเทนต์ ประกอบด้วยบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัส หรือ “TLP”
(เดิมชื่อบริษัท ทรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์) ซึ่งเป็นบริษัทที่ทรูถือหุ้นโดยตรงทั้งหมด และ
บริษัท NC True จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนกับ บริษัท NC Soft จำกัด หนึ่งในผู้พัฒนาและ
ผลิตเกมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลี นอกจากนี้ ทรู ไลฟ์ พลัส ยังให้บริการดิจิตอลคอน
เทนต์ต่างๆ อาทิ บริการดาวน์โหลดเพลง เว็บพอร์ทัล และสื่อสิ่งพิมพ์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ทั้งนี้
ในเดือนมิถุนายน 2552 ทรูเปิด ทรู แอพ เซ็นเตอร์ (True App Center) สถาบันศูนย์กลางการ
ศึกษาเพื่อสร้างนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาคอนเทนต์และเพิ่มรายได้
จากบริการที่ไม่ใช่เสียง
|
True Story การรีไฟแนนซ์ทรูวิชั่นส์ประสบความสำเร็จ จากการสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ในประเทศ 4 แห่ง ในการจัดหาวงเงินกู้ระยะยาว ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และมีเงื่อนไขที่ผ่อนปรนกว่าเงื่อนไขเงินกู้เดิม นอกจากนี้ ทรูวิชั่นส์ได้ปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท เพื่อรองรับกรอบการกำกับดูแลที่เปลี่ยนแปลง และทำให้การดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้นรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต เครือเจริญโภคภัณฑ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน ทรู คอร์ปอเรชั่น จากเดิมร้อยละ 55.7 เป็น 64.74 หลังการซื้อหุ้นทรูทั้งหมดจากKfW ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา ประเทศเยอรมัน ทรูมูฟเปิดตัวไอโฟน 4 โดยเป็นผู้นำตลาด ทั้งในด้านยอดขาย การนำเสนอแพ็กเกจต่างๆ และและการให้บริการลูกค้า ทรูมูฟเปิดตัว “ไอที เฟรนด์” พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมาร์ทโฟนมากกว่า 300 คน ซึ่งประจำอยู่ในร้านทรูช้อปทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังเปิดตัว “ไฮสปีด เน็ตซิม” นำเสนอบริการ โมบาย อินเทอร์เน็ต (บนเทคโนโลยี 3G/EDGE) สำหรับผู้ใช้บริการแบบเติมเงินที่ใช้สมาร์ทโฟน โทรศัพท์และโน้ตบุ๊ก เพื่อรับประโยชน์จากการเติบโตของตลาดบริการที่ไม่ใช่เสียง ทรูออนไลน์เปิดตัว Ultra hi-speed Internet ความเร็วสูงสุด 50 Mbps ด้วยเทคโนโลยี VDSL2 ครั้งแรกของประเทศ ทรูออนไลน์เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เพิ่มมาตรฐานความเร็วใหม่สำหรับบริการบรอดแบนด์เป็น 6 Mbps ในราคา 599 บาทต่อเดือน ทรูก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการระบบ High Definition รายแรกของไทยจากการเปิดตัว “TrueVisions HD” |
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555
กว่าจะเป็นวันนี้ True
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น